มีเฮ สรรพากรลดภาษีนิติบุคคล 10 ปี ในพื้นที่ SEZ

มีเฮ สรรพากรลดภาษีนิติบุคคล 10 ปี ในพื้นที่ SEZ

กรมสรรพากรเตรียมออกมาตรการภาษีส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ SEZ (Special Economic Zone) ลดอัตราภาษีให้นิติบุคคลในพื้นที่ เหลือร้อยละ 10 เพื่อสนับสนุนให้เกิดการลงทุน และส่งเสริมการค้าในพื้นที่นางสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกิจพลังงาน) 

ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า “ขณะนี้กรมสรรพากรกำลังเตรียมการที่จะออกมาตรการลดหย่อนภาษีให้กับนิติบุคคลที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ SEZ โดยจะเป็นการให้อัตราภาษีพิเศษสำหรับนิติบุคคล จากเดิมที่เคยเก็บในอัตราร้อยละ 20 ลดเหลืออัตราร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิเป็นเวลา 10 ปี หรือ 10 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการมีการผลิตสินค้า และบริการ ในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น อันจะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้มีงานทำ และเป็นการกระจายความเจริญ และเพิ่มรายได้แก่ท้องถิ่นลดการเคลื่อนย้ายแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยทางกรมสรรพากรจะเปิดให้นิติบุคคลในพื้นที่ SEZ ยื่นขอรับสิทธิได้ทันที จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563”

การออกมาตรการภาษีนี้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการส่งเสริมอุตสาหกรรมการค้าชายแดนให้มีความเข้มแข็ง อีกทั้งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศไทย และประเทศกลุ่ม CLMV ด้วย โดยกรมสรรพากรจะร่วมผลักดันไปพร้อมกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI ที่ให้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 8 ปี และลดหย่อนภาษี 50% อีก 5 ปี ในกิจการกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด

นอกจากนี้ กรมสรรพากรยังได้เตรียมการที่จะออกมาตรการภาษีสำหรับผู้ประกอบการในเขตพื้นที่อื่น ๆ ด้วย ได้แก่ “มาตรการภาษีสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรม 4.0” ซึ่งจะเป็นการให้สิทธิประโยชน์แก่นิติบุคคลที่บริจาคทรัพย์สิน ได้แก่ เครื่องจักร ส่วนประกอบอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครื่องจักรเพื่อระบบอัตโนมัติ ให้แก่ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 ที่จัดตั้งโดยสถานศึกษาของรัฐ โรงเรียนเอกชน (ไม่รวมถึงโรงเรียนนอกระบบ) หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน  โดยสามารถหักรายจ่ายได้สูงสุด 3 เท่า (ไม่เกินกำไรสุทธิหรือไม่เกิน 100 ล้านบาท) อีกทั้งทรัพย์สินที่บริจาคยังได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์อีกด้วย ทั้งนี้ นิติบุคคลสามารถบริจาคทรัพย์สินได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563

เทียบ 5 เว็บไซต์ค้นหาอสังหาฯยักษ์ใหญ่ของไทย ในตลาด PropTech

PropTech คืออะไร ทำไมตลาด PropTech ของไทยจึงมีมูลค่ามหาศาล และใครจะก้าวขึ้นเป็นผู้นำในหมู่เว็บไซต์ซื้อขายอสังหาฯ (Property portals) เเละธุรกิจลูกผสมในปี 2563  

การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ก้าวกระโดดทำให้ไทยมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยประชากรกว่า 70 ล้านคน ไทยเป็นประเทศที่มีอัตราการว่างงานที่ต่ำมากที่สุดเเห่งหนึ่งในโลก และถือเป็นตัวอย่างของประเทศตลาดเกิดใหม่ (emerging market) ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศ แม้ว่าภาคการท่องเที่ยวจะมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (สัดส่วนราว 13-15%ของจีดีพี) แต่ภาคอุตสาหกรรมและการผลิตมีสัดส่วนกว่า 50% ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญให้ค่าเงินและเศรษฐกิจของประเทศมีความเเข็งเเกร่ง  

ตลาดอสังหาฯ ริมทรัพย์ที่เปลี่ยนไป ในทศวรรษที่ผ่านมา เงินบาทเเข็งค่าขึ้นเทียบกับเงินสกุลหลักของโลก เเละประเทศไทยต้อนรับนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้ามามากมาย นี่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคาอสังหาฯ ในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ หรือภูเก็ตพุ่งสูงขึ้นมาก ประเทศไทยกลายเป็นประเทศหนึ่งที่มีอสังหาริมทรัพย์คุณภาพ

10 ปีที่ผ่านมา การหาซื้อบ้านในประเทศไทยเปลี่ยนโฉมหน้าไป ปัจจุบันเว็บไซต์ค้นหาอสังหาฯ และ PropTech company เข้ามามีบทบาทอย่างมากในฐานะตัวกลางเเละผู้เล่นคนสำคัญ   

PropTech company คืออะไร? และในตลาดนี้ใครเป็นผู้เล่นหลัก?

PropTech เป็นรูปแบบธุรกิจอสังหาฯ แบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีมาช่วยยกระดับการซื้อขาย ทำธุรกรรมการเงิน และบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอสังหาฯ เป็นคำศัพท์ที่เริ่มใช้อย่างแพร่หลายมาก มีหลายบริษัทที่ให้บริการเพียงด้าน Marketplace (หรือแพลตฟอร์มฝากซื้อฝากขายที่มีคลังออนไลน์ที่ให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาเจอกัน) แต่เรียกตนเองว่าเป็น PropTech company ซึ่งไม่ถูกต้องนัก เพราะบริษัทมุ่งเน้นที่จะขายโฆษณาให้นายหน้าและเจ้าของโครงการเป็นหลัก มากกว่าการใช้เทคโนโลยียกระดับให้การซื้อขายบ้าน คอนโด หรือ ที่ดินง่ายขึ้น

ตลาดอสังหาฯ ในประเทศไทยมีลักษณะแยกย่อยมากมาย (Fragmented market) โดยไม่มีเจ้าใดเป็นเจ้าตลาดอย่างเด็ดขาด เเม้ว่าจะมีผู้นำในตลาดสำหรับลูกค้าในประเทศและต่างประเทศก็ตาม

ทำไมตลาด PropTech ในประเทศไทยถึงมีมูลค่าสูง? 

PropTech company ในประเทศตะวันตกถูกประเมินมูลค่าไว้สูงมาก ซึ่งเป็นการประเมินมูลค่าบริษัท (Valuation) จากรายได้ (Revenue) ไม่ใช่ผลกำไร (Profit) ซึ่งเป็นเทรนที่เกิดจากการเกิดขึ้นของ Tech company มากมายทั่วโลก และการระดมทุนของบริษัทผ่านการขายหุ้น IPO

หันไปดูตลาด PropTech ในตะวันตก อังกฤษมี Rightmove ซึ่งครองตลาดนี้ในฐานะผู้นำ มีการประเมินว่า Rightmove มีมูลค่าอยู่ที่กว่า 7.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือมีมูลค่ามากกว่า 2 เเสนล้านบาท และในปี 2561 บริษัทซื้อขายอยู่ที่ 20 เท่าของรายได้ต่อปี นี่เป็นเทรนที่เกิดขึ้นทั่วไปในตลาด PropTech ขนาดใหญ่ในประเทศตะวันตก ตั้งเเต่ REA Group ในออสเตรเลีย จนถึง Zillow Group ในสหรัฐ

หลายคนจึงจับตามองตลาดเกิดใหม่ (Emerging market) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเศรษฐกิจกำลังเติบโต ประกอบกับประชากรและจีดีพีของประเทศรวมถึงตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว จึงมั่นใจได้ว่าในอนาคตจะได้เห็นบริษัท PropTech company ในประเทศไทยก้าวเข้ามาเป็นผู้เล่นหลักที่ทำกำไรไม่น้อย คำถามคือเราจะใช้เวลาเร็วแค่ไหนในการก้าวไปสู่จุดนั้น

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป